ผลจากการคาดประมาณจากทั่วโลกระบุว่า เด็กและเยาวชนในโรงเรียนมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ หรือมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนักสะสมไม่ถึง 60 นาทีต่อวัน ตามคำแนะนำของ WHO มากกว่าถึงร้อยละ 80
ด้านผลสำรวจของ Thailand Report Card ปี 2022ในด้านอิทธิพลของบริบทแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทย โดยเฉพาะในโรงเรียนสะท้อนว่า โรงเรียนส่วนใหญ่มีนโยบายที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหวให้กับเด็กนักเรียน และมีคุณครูที่มีความเชี่ยวชาญด้านพลศึกษา คิดเป็นร้อยละ 65 หรืออยู่ในระดับเกรด B- แต่จากข้อมูลในระดับพฤติกรรมของเด็กนักเรียนพบว่า มีเด็กและเยาวชนไทยเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น ที่มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ หรืออยู่ในระดับเกรด D
นั่นหมายความว่าโรงเรียนจำเป็นต้องออกแบบและจัดหาระบบสนับสนุนเพื่อช่วยให้เด็กนักเรียนได้มีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอและครอบคลุมทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษา เนื่องจากนักเรียนหญิงมีระดับกิจกรรมทางกายที่เพียงพอน้อยกว่านักเรียนชายในทุกระดับชั้น ทั้งยังพบว่ายิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงด้วย
…..
จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าว Thailand Report Card ปี 2022 จึงได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อโรงเรียน
โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจำเป็นต้องยกระดับนโยบายด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยเน้นไปที่การสร้างเสริมความสุข ลดความเครียด ทั้งที่สามารถประยุกต์ใช้แนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกายแบบทั้งระบบ (Whole – of – School Programmes) เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการมีกิจกรรมทางกายระหว่างวันให้กับนักเรียนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ โรงเรียนควรจัดให้มีการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกิจกรรมทางกายที่มีความปลอดภัย และเป็นมิตรกับการมีกิจกรรมทางกายของเด็ก รวมถึงการเพิ่มพื้นที่สุขภาวะเพื่อให้นักเรียนสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้นตลอดทั้งวันขณะอยู่ที่โรงเรียน
…..
และเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาทางองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ก็ได้เผยแพร่เอกสารสรุปเชิงนโยบาย (Policy brief) เกี่ยวกับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านโรงเรียน (Promoting physical activity through schools: policy brief) แก่ผู้กำหนดนโยบาย นักวางแผน และผู้บริหารโรงเรียน
โดยเอกสารฉบับนี้ได้อธิบายถึงสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่สามารถนำมาใช้เพื่อการพัฒนา ดำเนินการ และประเมินผลให้เกิดประสิทธิผลได้อย่างไร ด้วยแนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกายทั้งระบบโรงเรียน (Whole – of – School Approaches) เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และลดพฤติกรรมเนือยนิ่งในเด็กและเยาวชน ตลอดจนกรณีศึกษาตัวอย่างที่มีหลักฐานรองรับว่าได้ผลจากหลายประเทศ
เอกสาร Promoting physical activity through schools: policy brief ของ WHO
เอกสารดังกล่าวได้นำเสนอกิจกรรมแทรกแซง (Intervention) ที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านโรงเรียน โดยแบ่งออกเป็น 6 ขอบเขต ดังต่อไปนี้
เอกสารฉบับนี้เหมาะสำหรับ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเด็กในโรงเรียน อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงกีฬาและนันทนาการ ผู้กำหนดนโยบายจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โรงเรียนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการสถานศึกษา ตลอดจนผู้บริหารสถานศึกษา
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของเอกสารดังกล่าวได้ที่นี่:
https://www.who.int/publications/i/item/9789240049567
© 2021. All Rights Reserved.